ประเทศไทย

คว้าประโยชน์จากโอกาสในตลาดประเทศไทย

คว้าประโยชน์จากโอกาสในตลาดประเทศไทย

Thailandผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่เข้าสู่ตลาดไทยต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานผู้มีอำนาจตามขอบข่ายผลิตภัณฑ์ ข้อกำหนดและระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์กำหนดขึ้นเพื่อลดความเสี่ยง พัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น และสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยระหว่างการใช้งาน 

อย่างไรก็ตาม ระเบียบและข้อกำหนดในการปฏิบัติตามกฎเหล่านี้อาจกลายเป็นเรื่องท้าทายต่อบริษัทต่าง ๆ ที่กำลังเล็งสำรวจตลาดแห่งใหม่ในประเทศไทย เลือกใช้บริการจากผู้นำตลาดอย่าง TÜV SÜD เพื่อความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของคุณสอดคล้องกับมาตรฐานไทยอย่างแน่นอน 

เพราะ TÜV SÜD เข้าใจในข้อกำหนดและกระบวนการท้องถิ่นที่บังคับใช้ในประเทศไทยเป็นอย่างดี คุณจึงวางใจได้ในความเชี่ยวชาญและความรู้ของเราที่จะช่วยให้คุณเข้าสู่ตลาดสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมมั่นใจในความเป็นกลาง ความซื่อสัตย์สุจริต และความเป็นมืออาชีพของเรา

คลิกที่หมวดหมู่ด้านล่างนี้เพื่ออ่านข้อมูลการเข้าสู่ตลาดสำหรับแต่ละหมวดหมู่

  • ประเภทปลั๊กไฟ

    ประเภท A

    Plug A 

    ประเภท B

    Plug B

    ประเภท C

    Plug C

    ประเภท F

    Plug F

  • ความปลอดภัยทางไฟฟ้า

    หน่วยงานกำกับดูแล

    • สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

    ระเบียบ

    • ผลิตภัณฑ์ที่มีการควบคุมภายใต้พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต้องติดเครื่องหมาย มอก.
    • ผลิตภัณฑ์ในรายการบังคับจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยผลิตภัณฑ์และข้อกำหนดของระบบควบคุมคุณภาพโรงงานก่อนติดเครื่องหมาย มอก.
    • การประเมินระบบควบคุมคุณภาพมักจะรวมถึงการตรวจสอบโรงงาน
    • การทดสอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์จะต้องดำเนินการโดยห้องปฏิบัติการทดสอบที่ผ่านการรับรองคุณภาพหรือได้รับอนุมัติ
    • ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ สามารถขอติดเครื่องหมาย มอก. โดยสมัครใจได้ด้วยเช่นกัน
    • การปฏิบัติตามมาตรฐาน มอก.

    แนวทาง

    • กำหนดให้ต้องมีการแต่งตั้งตัวแทนในท้องถิ่นในการยื่นคำขอ
    กระบวนการอนุมัติ
    • การยื่นคำขอ
    • การประเมินผลิตภัณฑ์
    • การประเมินระบบควบคุมคุณภาพ
    • การออกใบรับรอง สมอ.
    • การกำกับดูแลภายหลังการติดฉลาก

    หมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่าย

    • ดูหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ภาคบังคับทั้งหมดได้ที่นี่ โปรดติดต่อเราหากต้องการทราบว่าผลิตภัณฑ์ใด ๆ เข้าข่ายระเบียบข้างต้นหรือไม่

    สรุปบริการของเรา

    TÜV SÜD ประเทศไทยคือหน่วยงานตรวจสอบและห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับแต่งตั้งจาก สมอ. ให้ทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าเฉพาะประเภท

  • การประหยัดพลังงาน

    หน่วยงานกำกับดูแล

    การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

    ระเบียบ

    • ผลิตภัณฑ์เฉพาะประเภทต้องปฏิบัติตามมาตรฐานประสิทธิภาพพลังงานขั้นต่ำ (Minimum Energy Performance Standards: MEPS)
    • มาตรการบังคับทางฉลากกำหนดไว้สำหรับตู้เย็นและตู้เย็น-ตู้แช่แข็งในโครงการประชาร่วมใจ ใช้ตู้เย็นประหยัดไฟฟ้า
    • ฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 เป็นที่รู้จักในหมู่ผู้บริโภคในฐานะฉลากแสดงระดับความประหยัดพลังงานสำหรับผลิตภัณฑ์หลากหลายประเภท เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ หลอดคอมแพ็คฟลูออเรสเซนต์ บัลลาสต์ พัดลมไฟฟ้า หม้อหุงข้าวไฟฟ้า และโคมไฟฟ้า

    แนวทาง

    • ผู้ผลิตต้องทำการทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่อขอติดฉลาก
    • ขอแนะนำให้ทำการติดฉลากโดยสมัครใจสำหรับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ภายใต้โครงการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า (Demand Side Management: DSM) ของ กฟผ.

    หมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่าย

    • โปรดติดต่อเราหากต้องการทราบว่าผลิตภัณฑ์ใด ๆ เข้าข่ายระเบียบข้างต้นหรือไม่

    สรุปบริการของเรา

    TÜV SÜD มีประสบการณ์และศักยภาพในการช่วยเหลือผู้ผลิตให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดของประเทศไทย และการขออนุมัติที่จำเป็น อีกทั้งยังให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ผลิตในการขอฉลากประเภทให้การรับรองโดยสมัครใจด้วยเช่นกัน

  • โทรคมนาคมและระบบไร้สาย

    หน่วยงานกำกับดูแล

    • คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

    ระเบียบ

    • อุปกรณ์ที่เข้าข่ายขอบข่ายบังคับจะต้องขออนุมัติจาก กสทช.
    • การจำแนกประเภทอุปกรณ์ที่มีกระบวนการตรวจสอบรับรองมีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้:
      • อุปกรณ์ประเภท ก ต้องขอดำเนินการทดสอบโดยสำนักงาน กสทช. การรับรองจาก กสทช. และการติดฉลาก
        Class A
      • อุปกรณ์ประเภท ข มีกระบวนการเช่นเดียวกับประเภท ก แต่ กสทช. จะยอมรับรายงานผลการทดสอบจากห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานการทดสอบสากล (FCC, ETSI/EN) โดยห้องปฏิบัติการทดสอบที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด
        Class B
      • อุปกรณ์ที่ต้องอาศัยแบบรับรองตนเองของผู้ประกอบการ (SDoC) จำเป็นต้องออกเอกสาร DoC ให้แก่ กสทช. แต่ไม่จำเป็นต้องทำการติดฉลาก
    • ผลิตภัณฑ์ประเภท ก หรือประเภท ข จะต้องติดเครื่องหมาย กสทช.
    • ผู้จัดหาในท้องถิ่นสามารถขออนุญาต กสทช. ในการออกฉลากแสดงด้วยตัวเองโดยการพิมพ์ฉลากหรือใช้ฉลากอิเล็กทรอนิกส์

    EMC:

    • หากมีการกำหนดระเบียบ EMC จะต้องปฏิบัติตาม

    *มาตรฐานการทดสอบสากลได้แก่มาตรฐาน FCC, ETSI/EN

    แนวทาง

    • กำหนดให้แต่งตั้งตัวแทนในท้องถิ่น

    กระบวนการอนุมัติสำหรับประเภท ก และ ข

    • การยื่นคำขอ
    • การรับรองแบบ อ้างอิงจากการทดสอบตัวอย่าง (ประเภท ก) หรือการยอมรับรายงานการทดสอบ (ประเภท ข)
    • ขออนุมัติจาก กสทช. ไทย
    • ติดฉลากผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้องเหมาะสม

    กระบวนการ DoC

    • ยื่นเอกสาร DoC รายงานการทดสอบ และเอกสารที่จำเป็นให้แก่ กสทช. เพื่อขอรับรอง

    หมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่าย

    • อุปกรณ์ประเภท ก: GMPCS/เครื่องวิทยุคมนาคมในกิจการประจำที่
    • อุปกรณ์ประเภท ข: อุปกรณ์ RFID กำลังสูง/เรดาร์ยานพาหนะ/เครื่อง VHF/VHF ในกิจการเคลื่อนที่ทางทะเล/การบินและทางบก
    • อุปกรณ์ SDoC: เครื่องโทรคมนาคมปลายทาง, เครื่องควบคุม WLAN/วิทยุ และเครื่องวิทยุคมนาคมกำลังส่งต่ำหรือเครื่องวิทยุคมนาคมสื่อสารระยะสั้น
    • โปรดติดต่อเราหากต้องการทราบว่าผลิตภัณฑ์ใด ๆ เข้าข่ายระเบียบข้างต้นหรือไม่

    สรุปบริการของเรา

    • ในฐานะที่ TÜV SÜD เป็นห้องปฏิบัติการทดสอบที่ผ่านการรับรองคุณภาพ จึงสามารถดำเนินการทดสอบตามมาตรฐานการทดสอบสากลที่ได้รับการยอมรับสำหรับอุปกรณ์ประเภท ข

เพิ่มเติม

TÜV SÜD Global Market Access for Electrical and Electronics E-book
อีบุ๊ค

การเข้าสู่ตลาดโลกของอุปกรณ์ไฟฟ้า

ภาพรวมของข้อกำหนดและการปฏิบัติตามข้อกำหนดทั่วโลกสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

อ่านเพิ่มเติม

ดูข้อมูลทั้งหมด

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เลือกที่ตั้งของคุณ