Press and Media Banner
2 min

Disruptive Leadership ในยุคที่เต็มไปด้วย Disruption

Posted by: Niranjan Nadkarni Date: 03 Oct 2021

Disruption จากเทคโนโลยี การแข่งขัน นวัตกรรม ผู้บริโภค และปัจจัยอื่น ๆ ก่อให้เกิดบรรยากาศการทำธุรกิจที่ไม่แน่นอนและพร้อมพลิกผัน ผู้นำองค์กรจึงต้องมีทักษะในการบริหารหรือผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ผมเชื่ออย่างนั้นมาโดยตลอด และได้ประสบกับความรู้นั้นทุกครั้งที่เจอ “จุดเปลี่ยน” ผมเรียกมันว่า “จุดหักเห” ผู้นำต้องรู้จัก disrupt สไตล์การทำงานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการขององค์กรที่เปลี่ยนแปลงได้เสมอ และเพื่อนำผู้คนผ่านพ้นการเปลี่ยนแปลงโดยไม่สะดุด

แม้ Disruptive leadership มักจะถูกพูดถึงในแง่เทคโนโลยีเป็นส่วนใหญ่ ผมเชื่อว่า ถ้าผู้นำอยากประสบความสำเร็จและนำองค์กรก้าวผ่านวงจรธุรกิจช่วงต่าง ๆ ได้ พวกเขาต้องมองว่า Disruption เป็นโอกาส และเปิดรับความเปลี่ยนแปลงที่มาพร้อมกับมัน

ประมาณ 10 ปีที่แล้ว เมื่อผมได้รับตำแหน่ง CEO ของภูมิภาคเอเชียใต้ Ishan ที่ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าได้ส่งต่อภูมิภาคที่พื้นฐานแข็งแกร่ง พร้อมไปด้วยคนทำงาน กลุ่มผลิตภัณฑ์ การลงทุน และวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการเติบโตอย่างมั่งคั่ง บทบาทในฐานะผู้นำของผมคือ จัดทีมให้สอดคล้องกับเป้าหมาย และมองเห็นภาพให้ชัดเจนเพื่อบรรลุเป้าหมายต่าง ๆ รวมไปถึงผลกำไรและประสิทธิงานการทำงาน โดยไม่ลืมฟูมฟักรักษาวัฒนธรรมที่ดีไว้เมื่อองค์กรขยายตัว

เพื่อผลักดันการเติบโตต่อ ผมต้องเปลี่ยนสไตล์การบริหารการสั่งงานแบบนลงล่าง สู่การฟังจากล่างขึ้นบน ภูมิภาคที่ผมดูแลต้องปรับโครงสร้าง เปลี่ยนโมเดลธุรกิจ นำเสนอบริการใหม่ ขยายตลาด เพิ่มความหลากหลายของพนักงาน และสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมความสร้างสรรค์และผู้นำ

ความต้องการทางธุรกิจในส่วนที่กล่าวไปบังคับให้ผมต้องเปลี่ยนสไตล์การบริหารเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการขยายตัวที่ยั่งยืน ทำกำไร และเสริมความมั่นคง

ในปี 2560 ผมได้รับโอกาสให้ดูแลภูมิภาคที่กว้างขึ้น ครอบคลุมอาเซียน เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา (ASMEA) สไตล์การเป็นผู้นำของผมต้องตอบสนองวัฒนธรรมอันหลากหลาย วิธีบริหารและแนวคิดที่ต่างกัน ภาวะทางเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยอื่น ๆ และยังมีกลยุทธ์สำหรับปี 2025 ที่ประกาศตามมา ซึ่งให้ความสำคัญกับ digital transformation

ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ กลยุทธ์ โครงสร้าง วัฒนธรรม และกระบวนการทำงานต้องปรับหรือแก้ใหม่ ดังนั้น เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านสำเร็จ เราต้องมีทิศทาง พร้อมกระบวนการประเมินและแก้ไขที่ชัดเจน เพื่อให้พนักงานทุกคนรู้สึกว่าตัวเอง “เป็นส่วนหนึ่ง” ของการเดินทางสู่ยุคใหม่ในครั้งนี้ และนี่คือจุดเริ่มต้นของการเปิดรับหลักการ 6 ประการที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของสาขาทั่วโลก พร้อมกับช่วยผลักดันประสิทธิภาพและประสิทธิผลอีกด้วย

ในทศวรรษที่ผ่านมา ผมได้ disrupt สไตล์การบริหารของผมถึง 3 รอบเพื่อผลักดันความเปลี่ยนแปลง และด้วย “วงจรการเปลี่ยนแปลง” ที่สั้นลง ผมทำนายว่า ผู้นำจะต้อง disrupt และปฏิวัติสไตล์การบริหารบ่อยขึ้น และต้องเผชิญกับความซับซ้อนมากขึ้นในการเปลี่ยนแปลงและผลักดันนวัตกรรมในช่วงต่าง ๆ ของวงจรชีวิตขององค์กร

ประสบการณ์จากตำแหน่งบริหารระดับต่าง ๆ สอนผมว่า ทักษะในการเรียนรู้ ละทิ้ง และเรียนรู้ใหม่สำคัญมากในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและนำพาผู้คนสู่เป้าหมาย พร้อมกับเตรียมความพร้อมให้พวกเขาพร้อมรับตำแหน่งใหม่ในอนาคต

คุณแค่ต้องหา “จุดหักเห” นั้นให้เจอ และสนุกกับการเปลี่ยนแปลง

 

 

 

 

 

 

ผู้แต่ง: Mr. Niranjan Nadkarni, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำภูมิภาคเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา

คลิก ที่นี่ เพื่ออ่านบล็อกอื่นๆโดย Mr. Niranjan Nadkarni

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เลือกที่ตั้งของคุณ