บทความนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกบน People Matters และนำมาเผยแพร่ซ้ำที่นี่
องค์กรที่หลอมรวมทักษะ ความชำนาญ ความรู้ และมุมมองอันหลากหลายเข้าด้วยกันจะพบว่า มุมมองร่วมกันที่เกิดขึ้น (Inclusive approach) ช่วยลดความเสี่ยง เพิ่มประสิทธิภาพ เปลี่ยนแปลงโมเดลธุรกิจ ผลักดันนวัตกรรมและความพร้อมสำหรับอนาคต
ในโลกที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และศาสนา บางประเทศกลับก้าวผ่านและแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการเฉลิมฉลองระบบนิเวศที่ทุกคนมีส่วนร่วม ประเทศหนึ่งที่เรานึกถึงคือสิงคโปร์ ที่มีสัดส่วนประชากรเชื้อสายจีน 76% มาเลย์ 15% และอินเดีย 8% และ 1 ใน 3 ของแรงงานเป็นชาวต่างชาติ สิงคโปร์มีภาษาราชการถึง 4 ภาษา ได้แก่จีน มาเลย์ ทมิฬ และอังกฤษ ผู้คนแต่ละเชื้อชาติต่างมีส่วนร่วมในการผลักดันความสำเร็จของประเทศ สิงคโปร์ได้รับเลือกเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งในการจัดลำดับศูนย์กลางนวัตกรรมทั่วโลกที่อยู่นอกซิลิคอนวัลเลย์ ซานฟรานซิสโกที่ตีพิมพ์โดย KPMG เมื่อเดือน ก.ค. 2564
เมื่อพิจารณาปัจจัยทั้งหมดร่วมกัน ทุกคนคงไม่ปฏิเสธว่าความหลากหลายและยอมรับความแตกต่าง (D&I) ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ความคิดสร้างสรรค์ที่เพิ่มพูน และการตัดสินใจที่ดีขึ้นมีความเกี่ยวพันกัน
ในทศวรรษที่ผ่านมา รายงานหลายฉบับต่างสรุปว่า ความหลากหลายและยอมรับความแตกต่าง (D&I) ส่งผลต่อการทำงาน รายงายหลายฉบับจาก McKinsey & Co บริษัทที่ปรึกษาระดับโลกระบุว่า มีความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างความหลากหลายและผลดำเนินการทางการเงินของบริษัท
คนที่เกลียดการก้าวออกจาก comfort zone มักจะกล่าวว่า รายงานของ McKinsey ข้างต้นเป็นเพียงข้อบ่งชี้ ไม่ใช่สาเหตุ Katherine W. Phillips ผู้ดำรงตำแหน่ง Reuben Mark Professor of Organizational Character at Columbia University's Business School ก่อนล่วงลับก็ยอมรับถึงจุดอ่อนนี้ในบทความที่ตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ในปี 2560 ว่า “รายงายที่ประกอบด้วยชุดข้อมูลขนาดใหญ่ต่างมีข้อจำกัด รายงานเหล่านั้นแสดงให้เห็นได้แค่ว่า ความหลากหลายเกี่ยวพันกับประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่ได้แสดงว่าเป็นเหตุที่ช่วยให้ประสิทธิภาพดีขึ้น”
เพื่ออธิบายถึงความเป็นเหตุ บทความของศาสตราจารย์ Katherine กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัยที่เธอได้ทำและงานวิจัยอื่น ๆ ที่ประกอบด้วยชุดข้อมูลที่เล็กกว่า ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า ทีมที่มีความหลากหลายและยอมรับความแตกต่างมักตัดสินใจอย่างชาญฉลาดมากกว่า
ขอยกตัวอย่างจากงานวิจัยที่นำไปอ้างอิงอย่างกว้างขวางของ Richard B. Freeman และ Wei Huang จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้รับการตีพิมพ์โดย National Bureau of Economic Research ของสหรัฐฯ พร้อมกับรายงายวิจัยอื่น ๆ อีกกว่า 1,500 ฉบับในช่วงปี 2528-2551 รายงานพบว่ายิ่งภูมิหลังของนักวิจัยคล้ายคลึงกันมากเท่าไหร่ ผลงานที่ออกมาก็จะช่วยสังคมน้อยลงเท่านั้น “รายงานจากกลุ่มนักวิจัยที่คล้ายคลึงกันมักถูกตีพิมพ์ในแหล่งที่ไม่ได้ส่งผลกระทบในวงกว้าง และถูกนำไปอ้างอิงน้อยกว่า ถ้าสามารถก้าวผ่านความคุ้นเคยและคล้ายคลึงได้ เราพบว่า รายงายที่มีนักวิจัยจากหลากหลายสถานที่และมีรายการอ้างอิงที่กว้างกว่ามักถูกตีพิมพ์ในสื่อที่สร้างผลกระทบในวงที่กว้างกว่า และถูกนำไปอ้างอิงมากกว่า”
อีกตัวอย่างที่น่าสนใจจากรายงานของ Cloverpop บริษัทผู้ให้บริการแพลตฟอร์มสื่อสารผ่านระบบคลาวด์ โดยบริษัทได้ประเมินและช่วยบริหารกระบวนการตัดสินใจขององค์กรต่าง ๆ White paper ที่บริษัทเผยแพร่ในปี 2560 กล่าวว่า “ความหลากหลายในทีมเพิ่มขึ้นพร้อมกับโอกาสในการตัดสินใจที่ดีขึ้น ทีมที่หลากหลายมาก ๆ มักตัดสินใจได้ดีกว่าถึง 87%”
แม้จะพบว่า ทีมที่ยอมรับความแตกต่างมากกว่าจะตัดสินใจได้ดีกว่า แต่ White paper ดังกล่าวก็ยังยอมรับว่าทีมที่หลากหลาย “มักประสบปัญหาเมื่อนำไปปฏิบัติมากกว่า” แต่ในบริษัทที่สามารถก้าวผ่านอุปสรรคนี้ได้ ผลลัพธ์ที่ได้จะน่าประทับใจอย่างมาก “ทีมที่หลากหลายมาก ๆ มักตัดสินใจได้ดีกว่าถึง 2 เท่า และบรรลุหรือทะลุเป้าหมายที่ตั้งไว้อีกด้วย”
สาเหตุน่าจะชัดเจนแล้วจากงานวิจัยของ ศาสตราจารย์ Katherine และนักวิจัยอื่น ๆ ผู้คนจากภูมิหลังต่าง ๆ นำความหลากหลายมาสู่การทำงาน ไม่ว่าจะเป็นในด้านข้อมูล ความคิดเห็น และมุมมอง เมื่อคนเหล่านี้คิดไม่ตรงกัน สมาชิกทีมแต่ละคนก็ต้องคิดและร่วมกันแก้ไขมากขึ้น
ศาสตราจารย์ Katherine กล่าวในบทความของเธอว่า “ความหลากหลายกระตุ้นให้เรากระทำการอย่างกลั่นกรองมากขึ้น คนพยายามมากขึ้นในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย ไม่ว่าในเชิงความคิดหรือสังคม พวกเขาอาจจะไม่ได้ชอบมัน แต่ความพยายามที่มากขึ้นจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น"
องค์กรที่ยอมรับความหลากหลายและแตกต่างจะได้รับประโยชน์มากมายที่นอกเหนือจากการตัดสินใจที่ชาญฉลาดขึ้น รายงานจาก McKinsey ระบุประโยชน์ไว้ 4 ข้อได้แก่
ชนะสงครามค้นหาคนเก่ง : โลกาภิวัตน์ เทคโนโลยี และโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนไปช่วยสร้างโอกาสการเติบโตให้องค์กร และสร้างอุปสรรคแก่โมเดลธุรกิจและโครงสร้างองค์กรแบบดั้งเดิม องค์กรที่หลากหลายจะมีกลุ่มคนเก่งเยอะกว่า ช่วยสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ดีกว่า
เพิ่มนวัตกรรมและความเข้าใจลูกค้า : เนื่องจากข้อมูลที่หลากหลาย ทีมทำงานสามารถเจาะตลาดกลุ่มเป้าหมายและให้บริการได้ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้หญิง ชนกลุ่มน้อย หรือ LGBTQIA+ ที่มีกำลังซื้อเพิ่มมากขึ้น
เพิ่มความพึงพอใจของพนักงาน : D&I จะช่วยเพิ่มความพึงพอใจ การร่วมมือกัน และความรักต่อองค์กร อันนำไปสภาพแวดล้อมที่ดึงดูดคนทำงานเก่งได้ดีขึ้น
ปรับภาพลักษณ์องค์กร : องค์กรที่สนับสนุน D&I จะมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นในสายตาผู้บริโภค คู่ค้าทางธุรกิจ ชุมชนท้องถิ่น และสังคม
D&I ถือเป็นหัวใจของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ชาติต่าง ๆ ให้คำมั่นว่าจะบรรลุ คำมั่นสัญญาที่ชัดเจนถูกระบุไว้ในวาระที่ประเทศสมาชิกลงนาม “สัญญาว่าจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
แต่ D&I ไม่ใช่เป็นแค่เพียงหลักจริยธรรมหรือสิ่งที่ช่วยให้เรารู้สึกดี ณ จุดนี้ เราควรตระหนักแล้วว่า ในโลกที่เชื่อมต่อกันและแข่งขันกันอย่างรุนแรง ธุรกิจจะได้เปรียบอย่างชัดเจนถ้าพัฒนาและปฏิบัติงานได้ดีกว่า จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไม D&I ถึงเป็นวาระที่ CEO สั่งตรงลงมา
เลือกที่ตั้งของคุณ
Global
Americas
Asia
Europe
Middle East and Africa