Failure Analysis TUV SUD Thailand ทูฟ ซูด ไทย

การวิเคราะห์ความเสียหาย

เพิ่มมูลค่าด้วยการบริการของเรา

เพิ่มมูลค่าด้วยการบริการของเรา

การวิเคราะห์ความเสียหายคืออะไร

การวิเคราะห์ความเสียหาย (Failure analysis) คือการสืบสวนพิสูจน์หลักฐานแบบองค์รวมเพื่อค้นหาสาเหตุที่ทำให้ผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนดังกล่าวไม่ทำหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ โดยวิศวกรพิสูจน์หลักฐานจะทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนที่ไม่ทำงาน โดยใช้เทคนิคและวิธีการทดสอบที่หลากหลายเพื่อระบุและประเมินต้นเหตุของปัญหาความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างเจาะจง

ความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความไม่สะดวกสบายเท่านั้น แต่อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสาธารณชนและสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อระบุสาเหตุได้ก็จะสามารถดำเนินการเพื่อปรับเปลี่ยนหรือออกแบบผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความล้มเหลวขึ้นอีกในอนาคต เทคนิคการวิเคราะห์ความเสียหายเฉพาะประเภทสามารถนำไปใช้ระหว่างขั้นตอนการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่อระบุจุดที่อาจเกิดความล้มเหลวและเพื่อแก้ปัญหาข้อบกพร่องก่อนที่ผลิตภัณฑ์จะถูกนำไปจำหน่ายในตลาด

การวิเคราะห์ความล้มเหลวมีความสำคัญอย่างไร

การวิเคราะห์ความล้มเหลวมีผลดีกับผู้ผลิตดังต่อไปนี้

  • ไม่ให้ลูกค้าปลายทางเกิดความรู้สึกผิดหวังและหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงของแบรนด์
  • พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายในอุปกรณ์ที่คล้ายกันในอนาคต

TÜV SÜD คือผู้นำด้านการวิเคราะห์ความเสียหายระดับโลก

TÜV SÜD มีศูนย์ Failure Analysis Centres ในสิงคโปร์และศูนย์การผลิตที่สำคัญอื่นๆ ทั่วโลกเพื่อให้บริการทดสอบวิเคราะห์ความเสียหาย การประเมินวัสดุและผลิตภัณฑ์ และการทดสอบความน่าเชื่อถือ แก่ผู้ผลิตสินค้าและชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

เรามีอุปกรณ์พร้อมสรรพที่จะทำการทดสอบผลิตภัณฑ์และส่วนประกอบที่หลากหลาย ทั้งแผ่นวงจรพิมพ์ (PCB) แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (PCBA) วงจรรวม (IC) ตัวเก็บประจุ (Capacitor) ขั้วต่อ แบตเตอรี่ อุปกรณ์ควบคุม สายไฟ และสวิตช์ อุปกรณ์ทดสอบอันทันสมัย พร้อมด้วยวิศวกรและนักวิเคราะห์มากประสบการณ์ของเราสามารถตอบโจทย์ข้อกำหนดการทดสอบที่เข้มงวดที่สุดภายในขีดจำกัดเวลาและงบประมาณของคุณ

TÜV SÜD ให้บริการวิเคราะห์ความเสียหายอย่างเต็มรูปแบบ

ศูนย์ Failure Analysis Centres ของ TÜV SÜD ให้บริการทดสอบและตรวจสอบผลิตภัณฑ์และชิ้นส่วนไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเต็มรูปแบบ ทั้ง

  • การประเมินผิวเคลือบ/ฟิล์มบาง - การประเมินสารเคมีเคลือบผิว ความหนา ทิศทางการจัดเรียงตัว และคุณภาพ รวมถึงการทดสอบการยึดเกาะ
  • การประเมิน PCB - เช่น การประเมินค่าความหนาและความเป็นเนื้อเดียวกัน การประเมินการแยกชั้น และความทนทานต่อความร้อนจากการบัดกรี 
  • การประเมินผลิตภัณฑ์ - ได้แก่ การถ่ายภาพรังสีเอ็กซ์เรย์เพื่อตรวจสอบโครงสร้างภายในหรือตำหนิ การวิเคราะห์คุณลักษณะทางไฟฟ้าด้วยการทดสอบกราฟ การทดสอบด้วยสารแทรกซึมที่จุดเชื่อมต่อของแพ็คเกจแบบ BGA (Ball grid array) และการทดสอบการบัดกรี
  • การประเมินความน่าเชื่อถือ - ได้แก่ การตรวจสอบต่อจากการทดสอบวัฏจักรความร้อนและการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างเฉียบพลัน การทดสอบความชื้น และการทดสอบด้วยการพ่นละอองเกลือ 
  • การวิเคราะห์พื้นผิว - ด้วยเทคนิค X-ray photoelectron spectroscopy (XPS) Atomic force microscopy (AFM) และเทคนิคอื่น ๆ 
  • การวิเคราะห์อุณหภูมิ - ด้วยวิธี Differential scanning calorimetry (DSC) Thermogravimetric analysis (TGA) และ Thermomechanical analysis (TMA) รวมถึงวิธีอื่น 
  • การวิเคราะห์สารเคมี - ได้แก่ Inductively coupled plasma mass spectrometry (ICP-MS) Fournier transform infrared spectroscopy (FTIR) และ Gas chromatography mass spectrometry (GC-MS)
  • การทดสอบเชิงกล - เช่น การทดสอบแรงดึง การทดสอบความล้า และการทดสอบการสั่นสะเทือน
  • การทดสอบความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (EMC) – สำหรับภูมิคุ้มกันและการปล่อยคลื่นแบบแผ่ออกและเหนี่ยวนำ
  • การทดสอบความปลอดภัยทางไฟฟ้า - เช่น แผ่นฉนวนไฟฟ้าและการเว้นระยะตามผิวฉนวนและระยะห่างในอากาศ

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

เลือกที่ตั้งของคุณ